พลาสติกชีวภาพ ทางเลือกใหม่ของความ รักษ์โลก

3098 จำนวนผู้เข้าชม  | 

พลาสติกชีวภาพ ทางเลือกใหม่ของความ รักษ์โลก

พลาสติกชีวภาพ (bioplastic) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ

พลาสติกสลายตัวได้ (compostable plastic) คือ พลาสติกที่ย่อยสลายได้โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน กลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ สารอื่นที่แตกละเอียด ไม่แตกเป็นชิ้น ๆ ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้เลย และต้องไม่เป็นพิษเมื่อสลายตัวแล้ว
พลาสติกแตกสลายทางชีวภาพได้ (biodegradable plastic) คือ พลาสติกที่แตกสลายได้เนื่องมาจากการทำงานของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น แบคทีเรีย รา สาหร่าย ในสภาวะและช่วงเวลาที่เหมาะสม เช่น การมีน้ำ และบางครั้งอาจต้องมีออกซิเจนเข้าร่วม ตัวอย่าง พลาสติกแตกสลายทางชีวภาพได้ เช่น
พลาสติกชีวภาพจึงเป็นแนวทางหนึ่งในการพัฒนาวัสดุสำหรับการใช้งานเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และกระบวนการกำจัด ในปัจจุบันพลาสติกชีวภาพเริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นทั้งในแง่ของผู้บริโภคที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพ รวมไปถึงการตื่นตัวของอุตสาหกรรมพลาสติกในการนำเอาวัตถุดิบจากพืชมาใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์

สิ่งหนึ่งที่จะช่วยให้การใช้งานพลาสติกชีวภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจและมีการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพ นั่นคือสัญลักษณ์การรับรองที่แสดงบนผลิตภัณฑ์ที่ออกโดยหลายสถาบันในประเทศต่างๆ เพื่อบ่งชี้ให้ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ง่ายขึ้นและยังเป็นการรับรองว่าผลิตภัณฑ์นั้นมีคุณสมบัติตามข้อกำหนดและสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้